ด็อก อกิลิตี้ เกมกีฬา ของน้องหมาผู้ปราดเปรียว

สำหรับผู้รักน้องหมาทุกคนแล้วนั้น คงจะไม่มีอะไรที่สร้างความสุขได้ดีเท่ากับ การได้เห็นน้องหมาที่เรารักมีสุขภาพที่ดี มีความสุขร่างกายแข็งแรง และสุขภาพจิตแจ่มใสตามธรรมชาติของเขา และกิจกรรมกีฬาอย่างหนึ่งที่สามารถให้น้องหมาที่เรารัก แสดงสิ่งเหล่านี้ออกมาให้เห็นก็คือ กิจกรรมกีฬาที่เรียกว่า “Dog Agility” หรือการแข่งขันความว่องไวของน้องหมานั่นเอง ซึ่งกีฬาชนิดนี้เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน สำหรับผู้เลี้ยงและตัวของน้องหมาเองอย่างมาก อีกทั้งยังมีรางวัลให้เป็นความภาคภูมิใจร่วมกันอีกต่างหาก การแข่งขันชนิดนี้ของน้องหมานั้นเริ่มมีการจัดการแข่งขันขึ้นตั้งแต่ปี 1978 ที่ประเทศอังกฤษ และได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะเป็นการแข่งขันที่สนุกสนาน และช่วยพัฒนาสุขภาพของน้องหมาได้อย่างมาก โดยที่ไม่มีการใช้ความรุนแรงหรือเป็นการทรมานตัวน้องแต่อย่างใด ทำให้เจ้าของและตัวน้องเกิดความสัมพันธ์ที่ดี จากการทำกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย อีกทั้งการแข่งขันยังถูกออกแบบมาให้เหมาะสม สำหรับผู้ที่สนใจทุกคน ที่สามารถลงแข่งได้ตั้งแต่น้องหมาที่ยังไม่มีประสบการณ์ จนถึงน้องหมานักล่ารางวัล ให้สามารถเข้าร่วมการแข่งขันแสนสนุกนี้ได้ ตามแต่ที่ตัวเองจะถนัดโดยไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบแต่อย่างใด โดยการแข่งขันจะแบ่งประเภทต่าง ๆ คือ 1.ประเภทมือใหม่ (Beginner) เป็นประเภทการแข่งขันสำหรับน้องหมาและผู้เลี้ยงมือใหม่ ที่มีความสนใจในกีฬาชนิดนี้ โดยการแข่งขันจะสามารถให้ผู้ฝึกหรือเจ้าของ สามารถดึงสายจูงเพื่อช่วยให้น้องหมา ไปในเส้นทางที่ถูกต้องได้ 2.ประเภทสมัครเล่น (Intermediate) เป็นการแข่งขันที่ยากขึ้นมาอีกหนึ่งขั้น สำหรับน้องหมาที่ฝึกมาแล้วในระดับหนึ่ง ซึ่งผู้ฝึกหรือเจ้าของสามารถควบคุมตัวน้องหมาได้ โดยที่ไม่ต้องมีสายจูงเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในกฎกติกา ก็ยังอนุญาตให้ ช่วยเหลือน้องหมาได้บ้างในบางกรณี 3.ประเภททั่วไป (Open) นี่เป็นการแข่งขันที่ยากที่สุด สำหรับน้องหมานักกีฬาระดับมืออาชีพ ซึ่งผ่านการฝึกซ้อมและการแข่งขันมาแล้วอย่างโชกโชน เพราะฉะนั้นการแข่งขันนอกจากจะวัดกันที่ความคล่องแคล่วว่องไวแล้ว ยังต้องวัดที่การปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัดอีกด้วย … Read moreด็อก อกิลิตี้ เกมกีฬา ของน้องหมาผู้ปราดเปรียว

ศิลปะการบังคับม้า ความงดงามสง่าของการประสานระหว่างม้ากับมนุษย์

ม้านั้นถือเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์มนุษย์มาอย่างยาวนาน เพราะตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันม้าเป็นทั้งสัตว์เลี้ยง ยานพาหนะ รวมไปถึงสหายศึกของมนุษย์ในยามสงคราม เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกแต่อย่างใดหากสิ่งเหล่านั้น จะถูกพัฒนามาสู่การกีฬาดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน สำหรับกีฬาที่มีม้าเข้ามาเป็นส่วนประกอบนั้นก็แตกแขนงออกไป เป็นหลากหลายชนิดกีฬาด้วยกัน แต่กีฬาที่ได้รับความนิยมมากอย่างหนึ่งก็คือประเภท ศิลปะการบังคับม้านั่นเอง ศิลปะการบังคับม้านั้นนับเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ถ้าหากเป็นยุคสมัยก่อนการเข้าสนามรบด้วยการมีศิลปะการบังคับม้าที่ดีกว่าย่อมจะได้เปรียบคู่ต่อสู้เสมอ เมื่อถูกพัฒนามาเป็นเกมกีฬาแล้วก็เช่นกัน ศิลปะการบังคับมาจะเป็นพื้นฐานที่ดีให้กับนักกีฬา ที่จะต่อยอดไปในการแข่งขันบนหลังม้าชนิดอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแข่งขันประเภทศิลปะการบังคับม้านั้น สิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ชมก็คือ ความสวยงามและสง่าของการสอดประสานกันของผู้บังคับกับม้านั่นเอง และสิ่งเหล่านั้นจะต้องเกิดมาจากการฝึกฝนอย่างเข้าขารู้ใจกันอย่างมากนั่นเอง และการแข่งขันแต่ละรายการจะถูกกำหนดถ้าในการแข่งแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ และมีการตัดสินด้วยการให้คะแนนจากสายตากรรมการ เรียงลำดับจาก 1-10 ซึ่งการให้คะแนนมากน้อยก็จะอยู่ที่การที่ผู้เข้าแข่งขันจะสามารถปฏิบัติตามกฎกติกา และท่วงท่าที่กำหนดได้อย่างสวยงามสมบูรณ์แบบ และเข้าตากรรมการผู้ตัดสินมากน้อยเพียงใด สำหรับการแข่งขันกีฬาขี่ม้าประเภทศิลปะการบังคับม้านั้น ถือว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย ซึ่งสาเหตุหนึ่งก็มาจากการที่ประเทศไทยเรา มีนักกีฬาที่มีฝีมือในกีฬาชนิดนี้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงมีประปรีชาสามารถในกีฬาประเภทนี้ และสามารถสร้างชื่อเสียงและคว้าเหรียญรางวัลในการแข่งขันระดับนานาชาติให้กับประเทศไทยได้ ทำให้กระแสกีฬาชนิดนี้กระจายออกไปในวงกว้างสำหรับนักกีฬาขี่ม้าชาวไทย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนานักกีฬาเยาวชนรุ่นใหม่ ๆ เข้าสู่ระดับทีมชาติต่อไป ในประเทศไทยจากการเปิดเผยของบรรดาเจ้าของฟาร์มม้า รวมไปถึงครูฝึกขี่ม้าพบว่าในปัจจุบัน มีพ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนสนใจที่จะส่งเสริมให้ลูกหลานหันมาขี่ม้ากันมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการต่อยอดสู่การเป็นนักกีฬาในอนาคตแล้ว การขี่ม้ายังช่วยสร้างประโยชน์อย่างมากมายให้กับตัวเด็ก ๆ เอง ไม่ว่าจะในด้านเสริมทักษะการเรียนรู้ ฝึกให้เด็กมีสมาธิ ใจเย็น และปลูกฝังความรักและเมตตาต่อสัตว์อีกด้วย … Read moreศิลปะการบังคับม้า ความงดงามสง่าของการประสานระหว่างม้ากับมนุษย์

ดิสก์ ด็อกส์ จานร่อนกับน้องหมา สู่กีฬาที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชม

ถ้าจะพูดถึงกีฬาที่ได้รับความนิยมของน้องหมา และบรรดาคนรักน้องหมาทั่วโลกแล้วละก็ ชื่อหนึ่งที่ผู้คนเหล่านั้นจะคิดถึงก็คือกีฬาอย่างจานร่อน หรือดิสก์ ด็อกส์ (Disc Dogs) อย่างแน่นอน เพราะกีฬาชนิดนี้เป็นการโชว์ความสามารถที่มหัศจรรย์อย่างมากของน้องหมา และความสามารถในการรับจานร่อนและความแสนรู้ของพวกมันนี่แหละ ที่ทำให้กีฬาชนิดนี้ได้รับความสนใจไปทั่วโลก ในปัจจุบัน กีฬาชนิดนี้เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ซึ่งเกิดขึ้นในการแสดงโชว์ระหว่างพักเบรกการแข่งขันเบสบอล ระหว่างลอสแอนเจลลิส ด็อดเจอร์สกับซินซิเนติ เรดส์ โดยในการแสดงครั้งนั้นมีนักศึกษาจากโอไฮโอ ที่ชื่อว่าอเล็กซ์ สไตน์ กับสุนัขแสนรู้ของเขาที่ชื่อว่า “เจ้าแอชลีย์” โดยที่สไตน์ได้โยนจานร่อนในมือของเขาให้ลอยขึ้นไปในอากาศ ก่อนที่เจ้าแอชลีย์จะโชว์ความสามารถของมันด้วยการวิ่งเต็มฝีเท้า และกระโดสูงจากพื้นราว 9 ฟุต เพื่อรับจานร่อนนั้นอย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นการแสดงที่สร้างความตื่นตะลึงให้กับคนดูในสนาม และมีการพูดถึงการแสดงของสองคู่หู “อเล็กซ์-แอชลีย์” อย่างมากมายหลังเกมการแข่งขันจบลง และนั่นทำให้เกิดการแข่งขันกีฬาชนิดนี้ในเวลาต่อมา ซึ่งในการแข่งขันจะมีการเล่นเป็นทีม คือจะต้องมีน้องหมาหนึ่งตัวกับคนเลี้ยงหรือผู้ฝึกอีกหนึ่งคน ซึ่งจะต้องอาศัยความเข้าขาหรือทีมเวิร์คร่วมกันอย่างมากเลยทีเดียว ในการที่จะใช้จานร่อนเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว และทิศทางของการแสดงร่วมกันของคนและน้องหมา ไม่ว่าจะเป็นระยะใกล้เพื่อแสดงความว่องไว และทีมเวิร์ค หรือระยะไกลเพื่อแสดงให้เห็นถึงพละกำลัง ความเร็วและความแม่นยำในการรับจานของน้องหมาเอง โดยการแข่งขันจะวัดกันที่ระยะทางและความแม่นยำในการรับและส่งจานร่อน ซึ่งกฎกติกาและระยะทางในการแข่งขันแต่ละครั้ง จะถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อให้มีความเหมาะสมต่อชนิดของน้องหมา รวมไปถึงเพศและอายุด้วย ส่วนความแม่นยำและทีมเวิร์คระหว่างผู้เลี้ยงกับน้องหมานั้น ถือเป็นพื้นฐานของการแข่งขันประเภทนี้ กีฬาชนิดนี้เป็นการแสดงความสามารถที่น่าทึ่งอย่างมาก ของบรรดาน้องหมาที่เรารัก ซึ่งดูเหมือนว่ามันจะเป็นเรื่องที่น้องหมาจะทำได้ แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่เลยมันขึ้นอยู่กับการฝึกฝนเสียมากกว่า และการฝึกฝนนั้นก็สามารถทำได้ง่าย ๆ … Read moreดิสก์ ด็อกส์ จานร่อนกับน้องหมา สู่กีฬาที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชม

คนและม้าจับคู่ มุ่งสู่ประตูชัย ในกีฬาขี่ม้าโปโล กีฬาที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน

อย่างที่รู้กันว่าม้านั้นเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน ดังนั้นการที่กีฬาเกี่ยวกับม้าจะมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานจึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด อย่างเช่นกีฬาขี่ม้าโปโลก็เช่นกัน และต้องบอกว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างมาก ที่กีฬาชนิดนี้ยังมีกลุ่มคนนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เพราะหากจะนับย้อนกลับไปถึงต้นกำเนิด กีฬาชนิดนี้ก็น่าจะมีอายุมากกว่า 2500 ปีเลยทีเดียว ว่ากันว่ากีฬาขี่ม้าโปโลนั้นเริ่มต้นโดยชาวเปอร์เซียและชาวเติร์กตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตกาล แต่ก็ยังไม่มีการบันทึกไว้เป็นกิจจะลักษณะ จนกระทั่งยุคเรืองอำนาจของมองโกลในสมัยเจงกิสข่าน ที่ใช้หัวของค่าศึกที่ประหารหลังจากชนะสงครามแล้วมาตีเล่น และสุดท้ายถูกปรับเปลี่ยนมาให้เป็นการแข่งขันกีฬา ที่ได้เล่นกันในแถบเปอร์เซียและอินเดีย จนกระทั่งเมื่ออังกฤษขยายอาณานิคมเข้ามาในอินเดีย และได้พบกับกีฬาที่สนุกสนานชนิดนี้ การเผยแพร่ออกไปเป็นวงกว้างและการแข่งขันอย่างเป็นทางการจึงได้เริ่มถือกำเนิดขึ้นบนโลก ในประเทศไทยนั้นกีฬาขี่ม้าโปโลเริ่มเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 แต่การเล่นกีฬาชนิดนี้ในยุคแรก ถูกจำกัดไว้เพียงแค่กลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น อันเนื่องมาจากราคาที่ต้องจ่ายทั้งการแต่งกาย อุปกรณ์ การซื้อและเลี้ยงดูม้านั้นเป็นราคาที่ค่อนข้างจะสูงในสมัยนั้น ทำให้ผู้คนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้เท่าใดนัก และสุดท้ายก็เงียบหายไป จนกระทั่งในปี 2547 กีฬาชนิดนี้กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง จากการผลักดันของคุณวิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานกลุ่มบริษัท คิงส์ พาวเวอร์ผู้ล่วงลับ ทำให้กีฬาชนิดนี้กลับมาได้รับความนิยม จนกระทั่งได้มีการจัดตั้งสมาคมขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทยขึ้น และสามารถบรรจุกีฬาชนิดนี้เข้าสู่การแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียนหรือซีเกมส์ ได้สำเร็จในปี 2550 ที่จังหวัดนครราชสีมา ในการแข่งขันขี่ม้าโปโลนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ทีม แต่ละทีมมีนักกีฬา 4 คน กำหนดช่วงเวลาในการแข่งขันช่วงละ 7 นาทีเรียกว่าหนึ่งชักกา การแข่งขันแต่ละครั้งหนึ่งจะมี 4-6 ชักกา … Read moreคนและม้าจับคู่ มุ่งสู่ประตูชัย ในกีฬาขี่ม้าโปโล กีฬาที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน

ฟลายบอล วิ่งผลัดสี่คูณร้อย ของหมาน้อยจ้าวลมกรด

กีฬาด้านการประลองความเร็วคงจะเป็นกีฬา ที่ได้รับความนิยมสูงสุดอย่างหนึ่ง ในโลกของนักกีฬาสี่ขาขนปุย และหนึ่งในกีฬาท้าความเร็วของบรรดาน้องหมาที่ได้รับความนิยม ก็คือกีฬาฟลายบอลนั่นเอง ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นหนึ่งในชนิดกีฬา ที่ให้ความสนุกสนานตื่นเต้นได้ ไม่แพ้เกมกีฬาของมนุษย์เราเลยทีเดียว แถมยังมีการจัดการแข่งขันกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติอีกด้วย สำหรับกีฬาฟลายบอลนั้นกฎและกติกาการแข่งขันก็จะเหมือนกับการวิ่งผลัดของคนเรานี่เอง แต่จะเป็นการวิ่งผลัดแบบข้ามสิ่งกีดขวาง โดยนักกีฬาน้องหมาแต่ละทีมจะประกอบไปด้วยผู้เล่น 4 ตัวด้วยกัน และแต่ละตัวจะต้องวิ่งไปที่ปลายทาง เพื่อคาบลูกบอลที่ติดอยู่กับกล่อง แล้ววิ่งข้ามสิ่งกีดขวางกลับมายังจุดเริ่มต้นเสียก่อน เพื่อนร่วมทีมอีกตัวจึงจะสามารถออกตัวไปได้ และทีมใดทำได้ครบทุกตัวภายในเวลาที่เร็วที่สุด ก็จะเป็นผู้ชนะไป ซึ่งด้วยฝีเท้าของบรรดาน้องหมาผู้แข็งแรง ทำให้บรรยากาศในสนามแข่งขันนั้น สนุกตื่นเต้นลุ้นกันแทบนั่งไม่ติดกันเลยทีเดียว โดยนักกีฬาแต่ละตัวก็จะถูกฝึกมาอย่างดี ทั้งในด้านสุขภาพร่างกายและกล้ามเนื้อขา รวมไปถึงการคาบลูกบอลและกลับตัว เพราะแต่ละเสี้ยววินาทีมีส่วนต่อผลการแข่งขันอย่างมากเลย ซึ่งทักษะที่ใช้ในการแข่งขันเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการฝึกซ้อมอย่างโชกโชน และการเลี้ยงดูให้เขามีสุขภาพแข็งแรงนั่นเอง ซึ่งในส่วนนี้เป็นส่วนที่ผู้เลี้ยงและดูแลมีผลอย่างมาก ที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาของตน การแข่งขันฟลาย บอล รายการที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือรายการ นอร์ธ อเมริกา ฟลายบอล แชมเปี้ยนชิพ หรือที่เรียกว่า CanAm Classic ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมฟลายบอล แห่งทวีปอเมริกาเหนือ (NAFA) ซึ่งมีทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันจากทั่วโลก มากมายถึงกว่า 300 ทีมเลยทีเดียว นอกจากจะเป็นการแข่งขันที่สนุกสนานตื่นเต้นแล้ว สำหรับกีฬาฟลายบอลนั้นยังมีการบันทึกสถิติไว้ด้วย โดยการทำเวลาที่เร็วที่สุดในโลกก็เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหมือนี่แหละ โดยเกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2014 … Read moreฟลายบอล วิ่งผลัดสี่คูณร้อย ของหมาน้อยจ้าวลมกรด

ปลากัด เกมกีฬาแห่งสัญชาตญาณนักสู้ และพัฒนาสู่ความสวยงาม

ปลากัดนับเป็นสัตว์นักสู้ที่อยู่คู่กับการละเล่นในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากสัญชาตญาณในการต่อสู้ของเจ้าปลาชนิดนี้ ทำให้บรรดาผู้คนที่ชื่นชอบความสนุกสนานตื่นเต้น รวมไปถึงการพนันขันต่อนำมันมาเป็นการแข่งขัน เป็นเกมกีฬามาตั้งแต่โบราณกาล และในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์เกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ หรืออะไรต่าง ๆ นานา แต่เจ้าสัตว์นักสู้ตัวน้อยนี้ก็ไม่ได้เลือนหายไปแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามปลากัดกับได้รับความนิยมมากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ด้วยประสบการณ์ ความรู้ เทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้การเลี้ยงปลากัดพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง จากแรกเริ่มเดิมทีปลากัดในสังคมไทยในอดีตนั้น จะเป็นการนำเจ้าสัตว์ตัวน้อยนี้มาทำการต่อสู้กันเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันด้วยการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก ที่บางส่วนมองว่าการกัดปลานั้นเป็นการทารุณสัตว์ ทำให้การเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์ปลากัด แบ่งสายออกมาเป็นทั้งการเลี้ยงเพื่อกัดอย่างเดิม และเลี้ยงเพื่อความสวยงามซึ่งก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กันทั้งสองแบบ ก็คงเหมือนกีฬาศิลปะการต่อสู้ของมนุษย์เรา ที่มีทั้งแบบต่อสู้จริงและแบบการแสดงศิลปะการต่อสู้เช่นกัน สำหรับปลากัดในประเทศไทยนั้นเดิมทีมีสายพันธุ์หลัก ๆ อยู่ 3 สายพันธุ์ด้วยกันที่มีการเลี้ยง และนำมาประชันขันแข่งกันตั้งแต่โบราณ โดยสามสายพันธุ์ที่ว่าก็ได้แก่ 1.ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง(ลูกทุ่ง) เจ้าปลากัดชนิดนี้คือปลากัดที่ถูกจับมาจากธรรมชาตินั่นเอง ซึ่งลักษณะของสายพันธุ์นี้จะมีขนาดตัวไม่ใหญ่นัก แต่จะปราดเปรียวว่องไวปากคม และกัดกันรู้แพ้รู้ชนะกันในเวลาไม่นานนัก ถือเป็นสายพันธุ์ที่นิยมนำมาต่อสู้กันมากที่สุด 2.ปลากัดหม้อหรือปลากัดลูกหม้อ มีต้นกำเนิดมาจากการจับปลาธรรมชาติมาเลี้ยง เพื่อเตรียมไว้ทำการกัดกัน โดยสมัยก่อนการเลี้ยงและขยายพันธุ์กระทำโดยใช้ภาชนะอย่างหม้อนั่นเอง เนื่องจากการเลี้ยงและขยายพันธุ์ในที่มืดและทึบแสงอย่างหม้อรวมไปถึงอาหารการกินที่สมบูรณ์ ทำให้ลักษณะตัวใหญ่กว่าปลาธรรมชาติ และมีสีที่เข้มกว่า ซึ่งในอดีตก็จะได้เปรียบในการกัดกับปลาธรรมชาติ แต่ในยุคหลัง ๆ ความได้เปรียบเสียเปรียบนี้ก็หมดไป เพราะไม่มีใครจะนำปลามากัดกันข้ามสายพันธุ์นั่นเอง 3.ปลากัดจีน ถึงแม้ว่าจะมีชื่อเรียกว่าปลากัดจีน แต่จริง … Read moreปลากัด เกมกีฬาแห่งสัญชาตญาณนักสู้ และพัฒนาสู่ความสวยงาม

ด็อค จั๊มปิ้ง (Dock Jumping) เหินเวหาถลาบนผิวน้ำ ด้วยขุมพลังการกระโดดที่น่าทึ่ง

พลังในการกระโดดถือเป็นอีกหนึ่งความสามารถ สำหรับนักกีฬาสี่ขาที่น่ารักของเรา ทำให้กีฬาประเภทที่วัดด้วยพลังในการกระโดด เป็นที่นิยมในหมู่ผู้รักสุนัขและนิยมในกีฬาของน้องหมาอย่างมาก โดยเฉพาะกีฬาที่เรียกกันว่า ด็อค จั๊มปิ้ง (Dock Jumping) โดยสาเหตุที่ใช้คำเรียกกีฬาชนิดนี้ว่า “ด็อค (Dock)” นั้นก็มีสาเหตุมาจากการที่นักกีฬาตัวน้อยของเรา จะต้องกระโดดลงไปบนผืนน้ำ ทำให้สนามแข่งมีลักษณะเป็นรอยต่อระหว่างน้ำกับท่าน้ำ ที่เรียกว่า Dock ในภาษาอังกฤษนั่นเอง โดยการแข่งขันของกีฬาชนิดนี้ สุนัขจะถูกปล่อยตัวออกจากจุดที่กำหนด แล้วพุ่งทะยานออกไปบนผิวน้ำโดยมีเป้าหมายให้น้องหมาพุ่งไปงับ เพื่อที่จะควบคุมให้การกระโดดนั้นอยู่ในเส้นทางที่ใช้วัดระยะ ไม่เบี่ยงซ้ายหรือขวาจนทำให้เสียระยะทางไปนั่นเอง และแข่งขันกันที่ระยะในการกระโดด ซึ่งแบ่งระยะทางในการกระโดดออกเป็นระดับต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกัน สำหรับสุนัขที่เข้าร่วมแข่งขันต่างสายพันธุ์ โดยระยะทางที่ใช้ทำการแข่งขันจะเริ่มต้นตั้งแต่ระยะ 9 ฟุต 11 นิ้ว(3.02 เมตร) ไปจนถึงระยะไกลที่สุดคือมากกว่า 25 ฟุต(7.62 เมตร)เลยทีเดียว เนื่องจากการแข่งขันกีฬาประเภทนี้ เป็นการแข่งขันที่กระโดดพุ่งตัวลงไปในน้ำ ดังนั้นน้องหมานักกีฬาที่จะเข้าร่วมทำการแข่งขันนั้น จะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ คือ มีพลังงานสูง รวดเร็วและกระโดดได้ดี ที่สำคัญที่สุดก็คือจะต้องชอบน้ำด้วย ดังนั้นจากคุณสมบัติต่าง ๆ ที่กล่าวมา น้องหมาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ที่จะนำมาปั้นให้เป็นนักกระโดดท่าก็คือสายพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์, เกรย์ฮาวด์, เยอรมัน … Read moreด็อค จั๊มปิ้ง (Dock Jumping) เหินเวหาถลาบนผิวน้ำ ด้วยขุมพลังการกระโดดที่น่าทึ่ง

กีฬาขี่ม้าแบบอีเวนท์ติ้ง หนึ่งในกีฬาของคนกับม้าที่สร้างชื่อให้กับนักกีฬาไทย

อย่างที่รู้กันว่าการขี่ม้านั้นอยู่คู่กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน ดังนั้นกีฬาขี่ม้าจึงเป็นหนึ่งในประเภทกีฬาที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้จากการที่แม้แต่มหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติอย่างโอลิมปิกเกม ก็มีการบรรจุกีฬาขี่ม้าไว้เป็นหนึ่งในรายการแข่งขันเช่นกัน โดยกีฬาขี่ม้าที่แข่งขันในโอลิมปิกจะมีอยู่ด้วยกันสามประเภทก็คือ ประเภทศิลปะการบังคับม้า(Dressage) ประเภทกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง(Showjumping) และประเภทอีเวนท์ติ้ง (Eventing) สำหรับกีฬาขี่ม้าประเภทอีเวนท์ติ้งนั้น ทัพนักกีฬาทีมชาติไทยพึ่งจะสร้างประวัติศาสตร์ให้แก่สมาคมมาได้อย่างสด ๆ ร้อน ๆ ด้วยการที่พวกเขาสามารถคว้าตั๋วเข้าสู่การแข่งขันโอลิมปิก ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของวงการขี่ม้าไทย ในการแข่งขันประเภททีมอีเวนท์ติ้ง ได้สิทธิ์เข้าร่วมทำการแข่งขันกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติฉบับโตเกียวได้สำเร็จ ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จของการพัฒนาวงการขี่ม้าไทยขึ้นไปอีกระดับหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งนักกีฬาชุดประวัติศาสตร์นี้ประกอบไปด้วย อาริย์นัฏฐา ชวตานนท์(ม้าชื่อโบลีนบาวน์ ปรินซ์), กรธวัช สำราญ(ม้าชื่อลูมมินอส), วีรภัฎ ปิฏกานนท์(ม้าชื่อชาโต เดอร์ แวร์ซาย), และศุภณัฐ วรรณกุล(ม้าชื่อซาร์ ออฟ เฮอร์ ดรีมส์) สำหรับการแข่งขันประเภทอีเวนท์ติ้งนั้นก็คือ การแข่งขันที่รวมเอาประเภทศิลปะการบังคับม้า และประเภทกระโดดข้ามเครื่องกีดขวางมารวมเข้าด้วยกัน และยังมีการเพิ่มประเภทครอสคันทรี หรือการแข่งบนสภาพภูมิประเทศจริงเข้าไปอีกหนึ่งอย่าง ตามแต่ทางเจ้าภาพและคณะกรรมการจะออกแบบและจัดวางไว้ให้ ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบง่าย ๆ ก็คงจะเหมือนการแข่งขันไตรกีฬานั่นเอง ทำให้นักกีฬาประเภทนี้จะต้องมีทักษะในการบังคับม้าที่สูงและหลากหลาย เพราะกติกาในการแข่งขันนั้นค่อนข้างจะละเอียด รวมไปถึงการตัดสินผลการแข่งขันนั้น วัดกันที่การทำคะแนนเสียในแต่ละประเภทหักออกจากคะแนนเต็ม ดังนั้นทักษะการบังคับม้าเพื่อให้การแข่งขันออกมาสมบูรณ์และเสียคะแนนน้อยกว่าคู่แข่ง จึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากในกีฬาชนิดนี้นั่นเอง ความสำเร็จในครั้งนี้ของทัพนักกีฬาขี่ม้าทีมชาติไทย นอกจากจะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติแล้ว ส่วนหนึ่งยังจะเป็นการสร้างกระแสความตื่นตัวให้กับวงการขี่ม้าไทย ซึ่งจะทำให้เด็กรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในการขี่ม้า กล้าที่จะหันมาเอาดีในกีฬาชนิดนี้กันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนากีฬาขี่ม้าของประเทศไทยอย่างมาก … Read moreกีฬาขี่ม้าแบบอีเวนท์ติ้ง หนึ่งในกีฬาของคนกับม้าที่สร้างชื่อให้กับนักกีฬาไทย

เร็วที่สุด แรงที่สุด กับการแข่งขันเกรย์ฮาวด์จ้าวแห่งความเร็ว

ถ้าจะพูดถึงเกมกีฬาของนักกีฬาน้องหมา ที่ได้รับความสนใจจากผู้คนมากที่สุดแล้วละก็ กีฬาชนิดนั้นก็คงจะเป็นการแข่งขันประชันความเร็ว ของน้องหมาที่มีฝีเท้าจัดจ้านที่สุดในโลกอย่างการแข่งขัน “เกรย์ฮาวด์ เรซซิ่ง” นั่นก็เพราะว่าเกมกีฬาชนิดนี้ได้รับความสนใจทั้งจาก คนรักน้องหมา คนเลี้ยงน้องหมา รวมไปจนถึงผู้คนที่สนใจในเกมกีฬาความเร็วรวมไปถึงผู้ที่ชื่นชอบในการเสี่ยงโชคอีกด้วย เพราะในหลาย ๆ ประเทศถึงกับมีการเปิดให้ลุ้นกับการแข่งขันของน้องหมากันแบบถูกกฎหมายกันเลยทีเดียว การแข่งขันกีฬาชนิดนี้ถือเป็นเกมกีฬาของน้องหมาที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเริ่มมีการแข่งขันตั้งแต่ปี 1876 ที่ประเทศอังกฤษ โดยสุนัขที่ถูกเลือกให้ลงแข่งขันในรายการนี้ก็คือสายพันธุ์เกรย์ฮาวด์ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลก และอีกสายพันธุ์หนึ่งคือวิพเพ็ท ซึ่งมีความเร็วจัดจ้านไม่แพ้กันแต่จะมีขนาดเล็กกว่าซักหน่อย เรียกว่าเป็นการแข่งขันของรุ่นเล็กก็ว่าได้ โดยเจ้าการแข่งขันของวิพเพ็ทนั้นเกิดขึ้นจากกลุ่มคนงานชาวอังกฤษ ที่ข้ามฟากมาทำงานในอเมริกาในเวลาต่อมา ทำให้เจ้าวิพเพ็ทถูกตั้งฉายาว่า “ม้าแข่งของคนจน” นั่นเอง ปัจจุบันการแข่งขันกีฬาของน้องหมาจ้าวความเร็วชนิดนี้ ได้รับความนิยมและแพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง มีการจัดการแข่งขันเพื่อประลองความเร็วกันทั่วทุกมุมโลก โดยมีการจัดการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่หลายรายการอาทิเช่น อิงลิช เกรย์ฮาวด์ ดาร์บี้ ที่ถือเป็นรายการแข่งขันที่มีมาอย่างยาวนาน เพราะเริ่มจัดการแข่งขันกันมาตั้งแต่ปี 1962 และนอกจากถ้วยรางวัลแห่งความภาคภูมิใจแล้ว สำหรับผู้ชนะในการแข่งขันด้วยระยะทาง 480 เมตรในรายการนี้ ยังได้รับเงินรางวัลสูงถึง 175,000 ปอนด์ หรือคิดเป็นเงินไทยราวเจ็ดล้านบาดเลยทีเดียว เรียกว่าสำหรับผู้ชนะจะได้กลายเป็นน้องหมาเศรษฐีก็ว่าได้ และยังมีรายการอื่น ๆ อย่างเมลเบิร์นคัพ, แอสโซซิเอชั่นคัพ(ชิงถ้วยสมาคม), และแซนดาวน์คัพ ที่มีเงินรางวัลมากมายไม่แพ้กันให้กับผู้ชนะ และแน่นอนว่าเงินรางวัลเหล่านี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้คนสนใจในกีฬาชนิดนี้ได้อย่างมาก จนมีการเลี้ยงน้องหมาเหล่านี้เพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะ นอกเหนือไปจากความรักที่มีต่อพวกเขาเลยทีเดียว … Read moreเร็วที่สุด แรงที่สุด กับการแข่งขันเกรย์ฮาวด์จ้าวแห่งความเร็ว

กีฬาไก่ชน วิถีแห่งสัตว์เลือดนักสู้ ที่อยู่คู่สังคมไทย

กีฬาชนไก่นั้นเป็นหนึ่งในการละเล่นที่อยู่คู่กับสังคมบ้านเรามานาน ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้นที่นิยมในเกมกีฬาการต่อสู้ชนิดนี้ แต่ความนิยมต้องบอกว่าทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนเลยก็ว่าได้ ทำให้เราสามารถจะเห็นซุ้มไก่ชนได้ทั่วไปแทบจะทุกภูมิภาคของประเทศ รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านของเราด้วย ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีเรื่องของการต่อต้านเพราะการทารุณกรรมสัตว์ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความนิยมในกีฬาชนิดนี้ลดลงไปแต่อย่างใด ในทางกลับกันกลับทำให้กีฬาไก่ชนถูกแตกแขนงออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย การชนไก่ในสมัยก่อนนั้นจะไม่มีอะไรที่ซับซ้อน ก็คือแค่นำเอาสัญชาตญาณการต่อสู้ของไก่ที่เลี้ยงไว้มาสู้กัน จนกว่าจะมีการรู้แพ้รู้ชนะ ซึ่งก็คือจนกว่าคู่ต่อสู้จะยอมแพ้ด้วยการหันหลังวิ่ง หรือไม่ก็ตายไปในการต่อสู้นั่นเอง โดยเฉพาะในบางท้องถิ่นถึงกลับมีการติดอาวุธให้กับไก่ เพื่อตัดสินแพ้ชนะกันด้วยชีวิตเลยก็มี แต่ทุกวันนี้เนื่องจากมีการรณรงค์เรื่องการทารุณกรรมสัตว์ ก็ทำให้ความรุนแรงเหล่านั้นลดลงไปมาก และพัฒนาการชนไก่ให้เข้าสู่ลักษณะของกีฬามากขึ้น ทำให้การเลี้ยงและแข่งขันกีฬาไก่ชน แยกออกเป็นสามสายก็คือ 1.การชนแบบดั้งเดิม(ไฟท์เตอร์) ก็คือการให้ไก่ชนกันแบบที่เคยมีมาแต่ก่อน แต่จะไม่มีการติดอาวุธและมีการพันเดือยให้มีความรุนแรงน้อยลง และไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันมากนัก และมีการกำหนดเวลาเป็นยกเพื่อให้ได้พักให้น้ำ รวมถึงให้มีการยุติการต่อสู้โดยที่ไม่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือชนะก็ได้นั่นเอง 2.การชนแบบให้คะแนน(บ็อกเซอร์) คือการชนแบบใช้กรรมการกดให้คะแนนตามการออกอาวุธของไก่แต่ละตัว เหมือนมวยสากลสมัครเล่นของมนุษย์ ซึ่งลดการบาดเจ็บของไก่ได้อย่างมาก แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักเพราะการตัดสินด้วยสายตาคน ยังถูกมองว่าอาจจะง่ายต่อการโกงนั่นเอง 3.การเลี้ยงไก่ชนเพื่อประกวด นี่นับเป็นทางเลือกสำหรับผู้รักและเลี้ยงไก่ชน แต่ไม่ประสงค์จะให้เกิดการทารุณกรรมสัตว์ แต่ก็สามารถตอบโจทย์ในความรักที่มีต่อไก่ชน และเงินรายได้จากการเลี้ยงไก่ที่มากมายไม่แพ้กัน โดยการประกวดนั้นที่เป็นที่นิยมก็จะเป็นการประกวดความสวยงาม และลักษณะไก่ดีตามตำราก็จะทำให้สามารถคว้ารางวัลและเพิ่มมูลค่าให้กับไก่นั่นเอง อย่างเช่น ไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาว ที่มีลักษณะที่เรียกว่าพระเจ้าห้าพระองค์ ก็จะมีค่าตัวสูงเป็นสิบล้านบาท โดยที่ไม่ต้องมีการเจ็บตัวเลยด้วยซ้ำ ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ชนเพื่อเป็นเกมกีฬาได้รับการสนับสนุนและทำการเลี้ยงอย่างแพร่หลาย เพราะมูลค่าทางการตลาดค่อนข้างดีนั่นเอง เพราะเมื่อเทียบกับไก่เนื้อธรรมดา อาจจะมีการเลี้ยงที่ต่างกันบ้าง แต่ราคาก็ต่างกันอย่างมากตั้งแต่สิบเท่า จนถึงหมื่นเท่าแสนเท่าเลยก็มี ขึ้นอยู่กับความเก่งกาจ ชื่อเสียง และสายพันธุ์ และสิ่งเหล่านี้นี่แหละที่ยังคงดึงดูดความสนใจของผู้คนในสังคม ให้ยังคงหลงใหลในวิถีไก่ชนกันอยู่มาจนทุกวันนี้ … Read moreกีฬาไก่ชน วิถีแห่งสัตว์เลือดนักสู้ ที่อยู่คู่สังคมไทย