ปลากัด เกมกีฬาแห่งสัญชาตญาณนักสู้ และพัฒนาสู่ความสวยงาม

ปลากัดนับเป็นสัตว์นักสู้ที่อยู่คู่กับการละเล่นในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากสัญชาตญาณในการต่อสู้ของเจ้าปลาชนิดนี้ ทำให้บรรดาผู้คนที่ชื่นชอบความสนุกสนานตื่นเต้น รวมไปถึงการพนันขันต่อนำมันมาเป็นการแข่งขัน เป็นเกมกีฬามาตั้งแต่โบราณกาล และในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์เกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ หรืออะไรต่าง ๆ นานา แต่เจ้าสัตว์นักสู้ตัวน้อยนี้ก็ไม่ได้เลือนหายไปแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามปลากัดกับได้รับความนิยมมากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ด้วยประสบการณ์ ความรู้ เทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้การเลี้ยงปลากัดพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง จากแรกเริ่มเดิมทีปลากัดในสังคมไทยในอดีตนั้น จะเป็นการนำเจ้าสัตว์ตัวน้อยนี้มาทำการต่อสู้กันเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันด้วยการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก ที่บางส่วนมองว่าการกัดปลานั้นเป็นการทารุณสัตว์ ทำให้การเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์ปลากัด แบ่งสายออกมาเป็นทั้งการเลี้ยงเพื่อกัดอย่างเดิม และเลี้ยงเพื่อความสวยงามซึ่งก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กันทั้งสองแบบ ก็คงเหมือนกีฬาศิลปะการต่อสู้ของมนุษย์เรา ที่มีทั้งแบบต่อสู้จริงและแบบการแสดงศิลปะการต่อสู้เช่นกัน สำหรับปลากัดในประเทศไทยนั้นเดิมทีมีสายพันธุ์หลัก ๆ อยู่ 3 สายพันธุ์ด้วยกันที่มีการเลี้ยง และนำมาประชันขันแข่งกันตั้งแต่โบราณ โดยสามสายพันธุ์ที่ว่าก็ได้แก่ 1.ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง(ลูกทุ่ง) เจ้าปลากัดชนิดนี้คือปลากัดที่ถูกจับมาจากธรรมชาตินั่นเอง ซึ่งลักษณะของสายพันธุ์นี้จะมีขนาดตัวไม่ใหญ่นัก แต่จะปราดเปรียวว่องไวปากคม และกัดกันรู้แพ้รู้ชนะกันในเวลาไม่นานนัก ถือเป็นสายพันธุ์ที่นิยมนำมาต่อสู้กันมากที่สุด 2.ปลากัดหม้อหรือปลากัดลูกหม้อ มีต้นกำเนิดมาจากการจับปลาธรรมชาติมาเลี้ยง เพื่อเตรียมไว้ทำการกัดกัน โดยสมัยก่อนการเลี้ยงและขยายพันธุ์กระทำโดยใช้ภาชนะอย่างหม้อนั่นเอง เนื่องจากการเลี้ยงและขยายพันธุ์ในที่มืดและทึบแสงอย่างหม้อรวมไปถึงอาหารการกินที่สมบูรณ์ ทำให้ลักษณะตัวใหญ่กว่าปลาธรรมชาติ และมีสีที่เข้มกว่า ซึ่งในอดีตก็จะได้เปรียบในการกัดกับปลาธรรมชาติ แต่ในยุคหลัง ๆ ความได้เปรียบเสียเปรียบนี้ก็หมดไป เพราะไม่มีใครจะนำปลามากัดกันข้ามสายพันธุ์นั่นเอง 3.ปลากัดจีน ถึงแม้ว่าจะมีชื่อเรียกว่าปลากัดจีน แต่จริง … Read moreปลากัด เกมกีฬาแห่งสัญชาตญาณนักสู้ และพัฒนาสู่ความสวยงาม